Update :(14/9/2017)
Succession Planning หรือการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง หมายถึง การเฟ้นหาบุคคลภายในองค์กรที่เป็น “ดาวเด่น” (Talent) ที่สามารถสร้างผลงานที่ดีเลิศตามที่องค์กรคาดหวัง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ทันทีที่ ตำแหน่งนั้นๆ ว่างลง โดยทั่วไปองค์กรจะเตรียม “ดาวเด่น” จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนไว้สำหรับรองรับที่ ตำแหน่งนั้นโดย “ดาวเด่น” ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิรวมทั้งมีความพร้อมที่จะ ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ที่ว่างลงในทันทีตามที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตาม ในที่สุดองค์กรจะคัดเลือกผู้สืบทอด ที่ ตำแหน่งนั้น(Successor) ให้เหลือเพียง 1 คน ด้วยเกณฑ์การ “คัดเลือก” ขององค์กร เพื่อให้ผู้ที่ “พร้อมและ เหมาะสมมากที่สุด” เป็นผู้สืบทอดที่ ตำแหน่งนั้น(Successor) ซึ่งถือเป็นการมอบหมายงานที่สำคัญขององค์กร ให้แก่ผู้ที่เหมาะสมในเวลาอันควร (Put the right person on the right job at the right time) เพื่อให้ งานในความรับผิดชอบของที่ ตำแหน่งนั้นดังกล่าวมีความต่อเนื่อง โดยไมเกิดการสะดุดไม่ว่ากรณีใดๆ ในอดีตการจัดทำ “แผนการสืบทอดที่ ตำแหน่งนั้น” มักมุ่งไปที่ที่ ตำแหน่งนั้นผู้บริหารระดับสูงของ องค์กรเท่านั้น เช่น ผู้อำนวยการสำนักงาน หรือรองผู้อำนวยการ เป็นต้น ด้วยความเชื่อที่ว่าผู้บริหารที่มาก ด้วยความสามารถเพียงผู้เดียว ก็จะนำพาองค์กรให้เติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน แต่ด้วย สภาพการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน การวางแผนการสืบทอดที่ ตำแหน่งนั้นจึงไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงที่ ตำแหน่งนั้นผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความสำเร็จขององค์กรมิได้ขึ้นอยู่กับ “ผู้นำ หรือผู้บริหารระดับสูง” เพียงคนเดียว หากแต่ยังต้องอาศัยความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่หลากหลายของข้าราชการในแต่ละ ระดับเช่นกัน ดังนั้น แม้องค์กรจะมีผู้นำที่เปรียบเสมือนแม่ทัพที่มากด้วยความสามารถและมีวิสัยทัศน์แต่ หากขาด “ขุนพล” ที่เก่งกล้า และสามารถแปลงวิสัยทัศน์ดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติแล้ว ผู้นำองค์กรก็ไม่ สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้เช่นกัน ระบบการสืบทอดตำแหน่งใน ปัจจุบัน จึงครอบคลุมที่ ตำแหน่งนั้นอื่นๆ ที่สำคัญและเป็นเสมือน “หัวใจ” ขององค์กรด้วย